SPF ยิ่งสูงยิ่งดีจริงหรือ คุณรู้จักชื่อนี้ ดีแค่ไหน?

SPF

SPF PA+++ ? เชื่อว่าสาวๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกันดีกับ 2 คำนี้ เพราะมักจะพบเห็นได้ตามผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีคุณสมบัติการป้องกันผิวจากแสงแดด ซึ่งก็คือครีมกันแดดนั่นเอง และด้วยสภาพอากาศที่ร้อนแรงไม่เป็นสองรองใครอย่างแดดเมืองไทยด้วยแล้ว ครีมกันแดดถือเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยป้องกันผิวไม่ให้ถูกทำร้ายจากแสงแดด ตัวการที่ทำลายคอลลาเจนในชั้นผิว ทำให้ผิวหมองคล้ำไม่สว่างกระจ่างใส ซ้ำร้ายยังทำให้ผิวเราแก่ลงโดยไม่รู้ตัว

 

แต่ถึงอย่างนั้นถ้าจะวัดกันว่าระหว่าง SPF และ PA+++ พบเจอคำไหนมากกว่ากัน แน่นอนว่าน่าจะเป็นคำแรก แถมสาวๆ หลายคนก็ยังมีความเข้าใจผิดว่าค่าตัวเลขยิ่งสูง ยิ่งได้รับประสิทธิภาพการปกป้องที่ดีมากยิ่งขึ้น สามารถอยู่กลางแดดได้นานทั้งวันโดยที่ผิวไม่คล้ำเสีย ซึ่งความเข้าใจแบบผิดๆ นี้ก็ไม่ได้ผิดไปทั้งหมดทีเดียว จริงอยู่ที่ยิ่งตัวเลขมากการปกป้องจะดียิ่งขึ้น แต่ในส่วนของระยะเวลาถึงแม้จะได้รับการปกป้องที่ยาวนานเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถปกป้องไม่ให้ผิวคล้ำเสียได้ทั้งวันโดยไม่มีการทาซ้ำ

SPF_IndiGlow2

 

SPF คืออะไร

จากที่เกริ่นมาด้านบน หลายคนอาจจะเริ่มงงๆ แล้วว่า สรุปค่าตัวเลขที่มาคู่กันคืออะไรกันแน่? ดังนั้น เรามาทำความรู้จักคำนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า

SPF (เอสพีเอฟ)เป็นตัวย่อที่มาจากคำว่า Sun Protection Factor คือความสามารถในการป้องกันผิวจากรังสี โดยตัวเลขที่ต่อท้ายจะเป็นค่าจำนวนเท่าของระยะเวลาที่ผิวทนต่อรังสี UVB (เท่านั้น) จนทำให้ผิวเกิดอาการแดงหรือไหม้แดด ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นคือ ถ้าสาวๆ ต้องออกไปเผชิญหน้ากับแสงแดดโดยที่ไม่ทาครีมป้องกันอะไรเลย 15 นาทีต่อมาผิวจะเกิดอาการแดงและไหม้ ในทางกลับกัน หากสาวๆ ทาครีมอย่างถูกต้องและมีค่าตัวเลขเท่ากับ 15 จะต้องใช้เวลาเป็น 15 เท่าของ 15 นาที หรือคิดเป็น 3-4 ชั่วโมง ผิวถึงจะเกิดอาการแดงหรือไหม้แดด แต่ทั้งนี้ระยะเวลาการปกป้องอาจจะลดลงได้เนื่องจากปัจจัยภายนอกด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่จึงแนะนำว่าควรหมั่นทาทุก 2 ชั่วโมง เพื่อการป้องกันผิวที่ดี

 

และเมื่อทำความรู้จักกับพระเอกแห่งการปกป้องผิวขาวใสไปแล้ว มารู้จักตัวร้ายที่ดำเนินเรื่องคู่กันอย่างรังสี UVB กันหน่อยดีกว่า

แสงแดดที่สาดส่องความสว่างและร้อนแรงมาให้เรานั้น จะประกอบไปด้วยรังสีต่างๆ หนึ่งในนั้นก็คือรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (Ultraviolet B) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่ารังสี UVB มีช่วงความถี่ของความยาวคลื่นอยู่ที่ 280 – 320 นาโนเมตร การแสดงบทบาทหลักของรังสีตัวนี้ คืออาการผิวไหม้แดดและแดงหลังออกแดดเป็นเวลานานๆ นั้น ซึ่งจะมีความรุนแรงมากในช่วง 10.00 – 14.00 น. หรือเป็นช่วงที่ทุกคนต้องออกไปทานข้าวกลางวันนั่นเอง และเมื่อโดนรังสีจำพวกนี้สะสมนานวันเข้า ขั้นร้ายแรงที่สุดคือมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังได้เลย อย่างไรก็ตาม อาจพอสรุปได้ว่าเอสพีเอฟในครีมกันแดดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องเลือกหาครีมกันแดด

 

SPF_IndiGlow3

 

สีผิวกับค่าเอสพีเอฟ

ไม่ใช่แค่แสงแดดเท่านั้นที่เป็นโครงหลักของเรื่อง แต่สีผิวของเราก็มีผลกับการเลือกค่าตัวเลขเช่นกัน ด้วยกลไกการป้องกันผิวตามธรรมชาติเมื่อเจอแสงแดดคือ ร่างกายสร้างหรือผลิตเมลานินให้มากขึ้นเพื่อป้องกันผิว ทำให้สีผิวของเราเข้มขึ้นและนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมหลังจากตากแดดมาแล้วสีผิวจึงเข้มขึ้น นั่นก็เพราะสีผิวของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันจากเมลานิน (Melanin) ที่อยู่ในผิวมากน้อยต่างกันนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้สีผิวมีผลกับการเลือกค่าเอสพีเอฟ นั่นเอง

> ผิวขาวอมชมพู ถือว่าเป็นสีผิวที่บอบบางมากเพราะมีเมลานินในการป้องกันน้อย ระยะเวลาที่โดนแดดแล้วจะเกิดการไหม้หรือแดงนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 10 นาที ดังนั้น จำเป็นต้องเลือกกันแดดที่มีค่าในการปกป้องสูงหน่อยตั้งแต่ 30 – 45 ขึ้นไป

> ผิวขาวอมเหลือง แม้ว่าจะมีเมลานินมากกว่าขาวอมชมพูเล็กน้อย แต่ก็ยังสามารถโดนทำร้ายได้สูงเช่นกัน ระยะเวลาโดยประมาณจะใกล้เคียงกันคือ 10 นาที ค่าที่ปกป้องก็อยู่ในระดับปานกลางคือ 30

> ผิวสองสี ผิวคล้ำ หรือผิวแทน สาวๆ ในกลุ่มนี้จะมีระดับเมลานินสูงลิบลิ่ว เวลาออกแดดจึงไม่ค่อยเห็นว่าผิวแดง แต่จะเห็นเป็นผิวคล้ำเสียได้ง่ายกว่า ระยะเวลาก็จะอยู่ได้นานกว่าสีผิวที่อ่อนกว่าอยู่ที่ประมาณ 15 นาที ดังนั้น ระดับค่าปกป้องเริ่มต้นที่ 15 ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

SPF ยิ่งสูงยิ่งดีจริงหรือ?

อะไรที่น้อยไปหรือมากไปจนเกินความจำเป็น มักไม่ส่งผลดีเท่าไร เช่นเดียวกันกับการเลือกค่าเอสพีเอฟ ซึ่งในแง่ของความสามารถในการดูดซับรังสีของระดับค่าตัวเลขก็แทบจะไม่ได้ต่างกันมาก ยกตัวอย่างเช่น

ค่าอยู่ที่ 15 จะดูดซับได้ 93%

ค่าอยู่ที่ 30 จะดูดซับได้ 97%

ค่าอยู่ที่ 50 จะดูดซับได้ 98%

จะเห็นได้ว่าต่างกันไม่มากเลย ถ้าหากสาวๆ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องผิวพรรณ การเลือกค่าสูงๆ จะไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไร แต่สำหรับทีมผิวแพ้ง่ายนั้น การเลือกค่าการป้องกันสูงๆ จะทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ รวมถึงเกิดการสะสมสารเคมีเข้าสู่ร่างกายที่มากเกินความจำเป็น ฉะนั้น ควรเลือกตามสถานการณ์จะดีที่สุด โดยวัดจากการเผชิญหน้ากับแสงแดด เช่น ถ้าทำงานที่อยู่ในออฟฟิศก็เลือกที่ค่าต่ำๆ แล้วหมั่นทาซ้ำระหว่างวัน เพราะต่อให้เลือกใช้เอสพีเอฟสูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะปกป้องผิวได้ 100 เปอร์เซ็นต์

 

ถ้าอยากสวย ผิวขาวโกลว์มีออร่าและกำลังมองหาครีมหน้าใสที่ตอบโจทย์ครบครันทั้งเรื่องการบำรุงความชุ่มชื้น ผิวขาว กระจ่างใส ลดเลือนริ้วรอยและป้องกันแสงแดดในตัวเดียว ไม่ต้องพกหลายกระปุกให้ยุ่งยาก เราขอแนะนำ

IndiGlow Seductive White Rejuvenating Moisturizer มอยเจอร์ไรเซอร์ที่เป็นได้มากกว่าครีมบำรุงผิวทั่วไปที่คุณเคยใช้ ทั้ง Tone up Primer, Makeup base และ Sun protection ปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน ผิวโกลว์อย่างเป็นธรรมชาติทันทีหลังทา ตัวเดียวจบ ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ตอบโจทย์ได้ครบในทุกวันทำงานที่เร่งรีบ

 

สีผิวไม่สม่ำเสมอ_IndiGlow2

 

ครีมบำรุงผิวหน้าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้อย่างตรงจุด และการปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ด้วยค่า SPF 30 PA++++ ตอบโจทย์ทุกการดูแลผิวในชั่วโมงอันเร่งรีบ ช่วยปกป้องฟื้นฟูยาวนานตลอดทั้งวัน ที่มาพร้อมกับ IndiGlow White Loc Complex™ อุดมด้วยสารสกัดพิเศษจากเห็ดสีฟ้า และสารสกัดอันทรงคุณค่าจากธรรมชาติอีก 5 ชนิด เนื้อครีมละเอียด เกลี่ยง่าย ซึมเร็วให้ผิวชุ่มชื้น พร้อมลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย ล็อกความกระจ่างใส โดยผ่านการทดสอบจากสถาบัน DERMSCAN ASIA ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่อ่อนโยนต่อทุกสภาพผิวและยังอ่อนโยนต่อทุกสภาพผิว แม้ผิวแพ้ง่าย ปราศจาก Paraben และน้ำหอม พร้อมปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ได้ครบทุกปัญหาผิวอย่างแท้จริง

 

Tips

 

การปกป้องผิวจากแสงแดดที่ดีและมีประสิทธิภาพด้วยการทาครีมกันแดดนั้น คือการทาครีมอย่างทั่วถึงด้วยความหนา 2 มิลลิเมตร/ตารางเซนติเมตร หรืออย่างน้อย 2 ข้อนิ้วมือตัวเอง ถ้าเหงื่อออกหรือโดนน้ำก็ควรทาซ้ำเพื่อป้องกันผิวจากการหลุดลอกโดยไม่รู้ตัวของครีม ถ้าคุณเป็นสาวสปอร์ตรักกิจกรรมทางน้ำเหมือนเพื่อนสนิท ระบุกับตัวเองทุกครั้งได้เลยว่าต้องมองหาครีมกันแดดชนิดกันน้ำเท่านั้น และสุดท้ายอย่าลืมล้างทำความสะอาดผิวหน้าทุกครั้ง จะได้ไม่มีปัญหาสิวอุดตันจากการตกค้างของครีมกันแดด (ที่ล้างออกไม่หมด) มากวนใจ

 


Related Posts

Leave a comment